การใช้งานเครื่องปรับอากาศ เมื่อใช้งานเป็นระยะเวลานานมักมีปัญหา แอร์ขึ้น P3 ซึ่งเป็นโค้ดคำสั่งผิดปกติที่หลายๆคนอาจไม่รู้จัก หน้าจอแอร์ขึ้น P3 เป็นคำสั่งที่แสดงถึง การทำงานผิดปกติหรือ Error Code บางอย่างเกิดขึ้น แสดงถึงปัญหาเกี่ยวกับระบบน้ำยาแอร์ ที่เซ็นเซอร์ของเครื่องปรับอากาศสามารถจับได้ถึงความผิดปกติ ซึ่ง โค้ด P3 ของเครื่องปรับอากาศ แต่ละยี่ห้อจะมีคำสั่ง Error code ที่ไม่เหมือนกัน สำหรับบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับความหมายของแอร์ขึ้นคำว่า P3 วิธีแก้และตรวจสอบโค้ดที่มาของ Error Code นี้กัน
แอร์ขึ้น P3 คือ ?
แอร์ขึ้น P3 คือ การแสดงถึง Error Code ในการตรวจจับพบการทำงานผิดปกติของเครื่องปรับอากาศ ส่วนใหญ่เครื่องปรับอากาศจะแสดง หน้าจอแอร์ขึ้น P3 เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับน้ำยาแอร์ ในระบบเหลือน้อยหรือเกิดอาการรั่วซึมทำให้ไม่สามารถผลิตความเย็นได้ตามความต้องการ ซึ่งสาเหตุสามารถเกิดจาก 4 ปัจจัยหลักๆ เช่น ปัญหาน้ำยาแอร์รั่วซึมหรือน้ำยาแอร์มีน้อย ปัญหาคอยล์ร้อนไม่หมุน คาปาซิเตอร์หมดอายุ บอร์ด PCB เสีย ไม่สามารถจ่ายไฟเข้าระบบได้ และเครื่องปรับอากาศสกปรกจนทำให้คอยล์ร้อนเกิดการอุดตัน เป็นต้น
แอร์ขึ้น P3 แก้ยังไง
แอร์ขึ้นโค้ด P3 ในแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อของแอร์ จะมีความหมายที่แตกต่างกันไปเล็กน้อย โดยเราจะแยกไปตามแต่ละแบรนด์ ถึงสาเหตุของ Error Code และวิธีแก้แอร์ขึ้น P3 ดังนี้
1.แอร์ Carrier ขึ้น P3
แอร์ Carrier ขึ้น P3 คือ Error Code ที่ปรากฏขึ้นหน้าเครื่องคอยล์เย็น แสดงถึงระบบเซ็นเซอร์มีการตรวจพบ ความผิดปกติในระบบทำความเย็น โดยเฉพาะไม่มีสารทำความเย็นในระบบ (Refrigerant Leak) แอร์แคเรียร์ขึ้น P3 สาเหตุอาจเกิดขึ้นได้จาก มีการรั่วซึมของระบบทำความเย็น เกิดการรั่วไหล หรือมีการตรวจพบปริมาณของสารทำความเย็นในระบบเหลือน้อย สามารถตรวจสอบจุดรอยรั่วบริเวณต่างๆ เช่น แฟลนัท (Flare Nut) แผงคอยล์เย็น แผงคอยล์ร้อน และจุดเชื่อมต่อท่อต่างๆเป็นต้น และอีกหนึ่งสาเหตุสามารถเกิดขึ้นได้จากระบบไฟฟ้าที่ผิดพลาดหรืออาจได้รับความเสียหาย เช่น สายไฟขาด เกิดการลัดวงจร และระบบเซ็นเซอร์ไม่สามารถจับอุณหภูมิได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น

2. แอร์อามีน่า Amena ขึ้น P3
แอร์ Amena ขึ้น P3 ซึ่งเป็นคำสั่งการทำงานผิดปกติหรือขึ้น Error Code แสดงถึงปัญหา น้ำยาทำความเย็นรั่ว ระดับน้ำยาแอร์มีน้อยหรือต่ำกว่าเกณฑ์ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุที่เกิดขึ้นจากคอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานหนัก จนมีการตัดโอเวอร์โหลดอย่างฉับพลัน เช่น การระบายความร้อนได้ไม่ดีหรือมีการสะสมความร้อนสูงมากเกินไป และปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่น เหตุไฟฟ้าตกหรือไฟกระชาก เป็นต้น วิธีแก้แอร์ขึ้น P3 ของแอร์อามีน่า (Amena) คุณสามารถตรวจสอบบริเวณจุดเชื่อมข้อต่อในส่วนต่างๆ ว่ามีรอยรั่วซึมเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น แผงคอยล์ร้อน แผงคอยล์เย็น ตรวจสอบค่าความต้านทานของคาปาซิเตอร์ ตรวจสอบระบบเซ็นเซอร์ และตรวจสอบระบบไฟฟ้าส่งเข้าตัว Control เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถแก้ไขด้วยการล้างแอร์หรือทำความสะอาดชิ้นส่วนอุปกรณ์ของแอร์ในเบื้องต้นได้
3. Uni Aire ขึ้น P3
ยูนิแอร์ Uni Aire ขึ้น P3 แสดงสถานะการทำงานผิดปกติของคอมเพรสเซอร์ โดยจะปรากฏขึ้นบนจอของคอยล์เย็นและการทำงานของคอมแอร์จะหยุดทำงานทันที ซึ่งเป็นคำสั่งต่อเนื่องเฉพาะ ยูนิแอร์ ขึ้น P3 หรือ E3 แสดงสถานะ Error Code การตรวจไม่พบสารทำความเย็นในระบบ มีการรั่วซึมของน้ำยาแอร์หรือปริมาณน้อยจนไม่สามารถผลิตความเย็นได้ในระดับมาตรฐาน ส่งผลทำให้เกิดความร้อนและหยุดทำงานลง
4. Central Air ขึ้น P3
เซนทรัลแอร์ Central Air ขึ้น P3 คือ Error Code เกี่ยวกับปัญหาน้ำยาขาดหรือสารทำความเย็นในระบบไม่เพียงพอต่อการใช้งาน รวมไปถึงเกิดการรั่วซึมในระบบจนทำให้ไม่มีสารทำความเย็นอยู่ในระบบ ดังนั้นถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับแอร์ขึ้นโค้ด P3 จากแบรนด์ Central Air สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ โดยการตรวจสอบรอยรั่วบริเวณจุดเชื่อมต่อท่อต่างๆ เมื่อพบรอยรั่วที่เกิดขึ้นควรเรียกช่างเข้ามาทำแก้ไขรอยรั่วโดยทันที หลังจากนั้นจึงแวคคั่มแอร์ เติมน้ำยาในระดับที่กำหนดหรือตามค่ามาตรฐาน
5.แอร์ Panasonic ขึ้น P3
แอร์ Panasonic ขึ้น P3 เป็นคำสั่งแสดงสถานะ Error code เกี่ยวกับการทำงานผิดปกติของระบบทำความเย็น ซึ่งแอร์ Panasonic จะมีโค้ดปรากฏขึ้นบนหน้าจอคอยล์เย็น เป็นคำสั่งเฉพาะ แอร์ panasonic ขึ้น F91 หมายถึง วงจรของสารทำความเย็นผิดปกติ จะมีไฟกระพริบเกิดขึ้น 2 ครั้งทุกๆ 20 นาที สาเหตุเกิดจากไม่มีสารสารทำความเย็นอยู่ในระบบ หรือมีวาล์ถูกปิดกั้น จึงไม่สามารถผลิตความเย็นในระดับที่ต้องการได้

6.แอร์ Mavell ขึ้น P3
แอร์มาเวล Mavell ขึ้น P3 สาเหตุเกิดจากการตรวจพบความผิดปกติจากเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิของท่อที่มาจากแฟนคอยล์ มีอุณหภูมิสูงขึ้นผิดปกติ การตรวจพบความผิดปกติที่มาจากระบบทำความเย็น สาเหตุหลักมาจากปริมาณของน้ำยาทำความเย็นน้อยเกินไป น้ำยาแอร์หมดจากระบบ เมื่อความร้อนสะสมตัวสูงขึ้น จึงทำให้เกิดปัญหาคอยล์ร้อนไม่ทำงาน สามารถแก้ไขเบื้องต้นด้วย 2 กรณี ดังนี้
- กรณีคอยล์ร้อนไม่ทำงาน : ตรวจสอบอุปกรณ์และสายไฟที่เชื่อมต่อกับคอมเพรสเซอร์ว่ามีการชำรุดหรือไม่ ถ้าตรวจพบควรแก้ไขทันที และตรวจสอบคาปาซิเตอร์ว่าหมดอายุหรือไม่ ตรวจสอบแรงดันต่ำควรเปลี่ยนคาปาซิเตอร์ทันที
- กรณีคอยล์ร้อนยังทำงานปกติ : ตรวจสอบรอยรั่วบริเวณจุดเชื่อมต่อท่อต่างๆ หากพบรอยรั่วให้ทำการเชื่อมปิดรอยรั่วทันที วัดระดับแรงดันของน้ำยาทำความเย็น ให้ได้ถึงเกณฑ์ในระดับ 130 ถึง 160 PSI และเช็กเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิท่อ แฟนคอยล์ หากพบมีการทำงานผิดปกติหรือมีค่าความคลาดเคลื่อนควรเปลี่ยนใหม่ทันที
สรุปแล้ว แอร์บ้านขึ้น p3 เป็นคำสั่งหยุดการทำงานของคอยล์ร้อน รวมไปถึงคำสั่ง Error Code เพื่อแจ้งเตือนสถานะการทำงานผิดปกติของระบบทำความเย็น เพื่อแสดงถึงความผิดพลาดเกี่ยวกับระบบน้ำยาทำความเย็น ระบบไฟหรือคอมเพรสเซอร์แอร์มีปัญหา น้ำยาทำความเย็นไม่เพียงพอ และ ไม่มีน้ำยาทำความเย็นในระบบ เป็นต้น โดยเราสามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยการตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำยาทำความเย็นบริเวณจุดเชื่อมต่อท่อต่างๆ เช่น แผงคอยล์ร้อน และแผงคอยล์เย็น เป็นต้น สำหรับใครที่แอร์บ้านมีปัญหาต้องการเรียกช่างมาตรวจสอบซ่อมแซมหรือแอร์ไม่เย็นขึ้น p3 สามารถปรึกษาตลอดจนใช้บริการจาก Airyen ได้ ยินดีเข้ารับบริการได้ทุกวันไม่มีวันหยุด ผู้ให้บริการล้างแอร์ ติดตั้งแอร์ ซ่อมแอร์ และย้ายแอร์ด่วนครบวงจร ให้คำปรึกษาฟรี ยินดีแก้ปัญหาเซอร์วิสแอร์ทุกชนิด ทีมช่างแอร์มีประสบการณ์ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อุปกรณ์เครื่องมือทันสมัย รับประกันผลงานภายหลังใช้บริการกว่า 30 วัน แอร์มีปัญหาเรียกใช้เราเลยที่ Airyenservice.com
ช่องทางติดต่อเราเพิ่มเติม
บริษัท แอร์เย็น เซอร์วิส แอนด์ ซัพพลาย จํากัด
(เวลาทําการ 08.00 – 18.00 น.)
โทรติดต่อ : 065-558-2082
Facebook : Airyenservice
Line : @Airyen
